ข้ามไปเนื้อหา

วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี
คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์
สถาบันพระบรมราชชนก
ชื่อย่อวสส.ชบ. / SCPHC
คติพจน์คุณภาพคู่คุณธรรม นำวิชาพัฒนาสังคม
สถาปนาพ.ศ. 2494 (วันพระราชทานนาม 7 มกราคม 2537)
สังกัดการศึกษาคณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
ที่ตั้ง
29 หมู่ที่ 4 ถนนวชิรปราการ ตำบลบ้านสวน อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี 20000
เว็บไซต์http://www.scphc.ac.th

วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี (อังกฤษ: Sirindhorn College of Public Health, Chonburi: SCPHC) เป็นวิทยาลัยในสังกัด คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข เปิดทำการเรียนการสอนระดับปริญญาตรีในด้านสาธารณสุขศาสตร์ หลักสูตร 4 ปี ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง หลักสูตร 3 ปี และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงหลักสูตร 2 ปี โดยจัดการศึกษาตลอดหลักสูตรที่วิทยาลัย

ประวัติวิทยาลัย

[แก้]

วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี[1]

เดิมคือ “ศูนย์อบรมและแสดงการปฏิบัติการ อนามัยจังหวัดชลบุรี” ตั้งขึ้น พ.ศ. 2494 ใช้เป็นสถานที่อบรมฟื้นฟูความรู้แก่เจ้าหน้าที่อนามัยทุกประเภท

พ.ศ. 2500 ได้จัดตั้งโรงเรียนพนักงานอนามัยเป็นแห่งแรกที่ศูนย์อบรมฯนี้ และเปิดอบรมหลักสูตรพนักงานอนามัยซึ่งต่อมาเปลี่ยนเป็น หลักสูตรประกาศนียบัตรสาธารณสุขศาสตร์ (สาธารณสุขชุมชน)

พ.ศ. 2506 เปลี่ยนชื่อศูนย์อบรมและแสดง การปฏิบัติการอนามัย จังหวัดชลบุรี เป็น “ศูนย์ฝึกอบรมอนามัยภาคกลางจังหวัดชลบุรี”

พ.ศ. 2510 ได้จัดตั้งโรงเรียนทันตาภิบาลผลิตเจ้าพนักงาน ทันตสาธารณสุขเพื่อให้บริการด้านทันตกรรมแก่เด็ก ที่มีอายุต่ำกว่า 14 ปี ปัจจุบันคือหลักสูตรประกาศนียบัตรสาธารณสุขศาสตร์ (ทันตสาธารณสุข)

พ.ศ. 2515 จัดตั้งโรงเรียนอนามัยอำเภอขึ้น ต่อมาเปลี่ยนเป็นโรงเรียนสาธารณสุขอำเภอ แต่ได้ยกเลิกหลักสูตรนี้ในปี

พ.ศ. 2528 และได้จัดอบรมอีก 2 รุ่น ใน พ.ศ. 2537 มีผู้สำเร็จการอบรมหลักสูตรนี้ รวมทั้งสิ้น จำนวน 725 คน ศูนย์ฝึกอบรมอนามัยภาคกลาง จังหวัดชลบุรี ได้เปลี่ยนชื่อเป็นศูนย์ฝึกอบรมการสาธารณสุขภาคกลางจังหวัดชลบุรี ต่อมา

พ.ศ. 2521ได้ยกฐานะเป็นวิทยาลัยการสาธารณสุขภาคกลาง จังหวัดชลบุรี วิทยาลัยการสาธารณสุขภาคกลาง จังหวัดชลบุรี ได้เปิดสอนหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต (ต่อเนื่อง) พื้นฐาน ม.ศ.3 ร่วมกับคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

พ.ศ. 2528 และ พ.ศ. 2537 ได้เปิดหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต(ต่อเนื่อง) พื้นฐาน ม.ศ.5 และได้ยกเลิกหลักสูตรในปี พ.ศ. 2550

พ.ศ. 2533 ได้เปิดหลักสูตรเจ้าพนักงานเภสัชกรรม ผลิตเจ้าพนักงานเภสัชกรรมเพื่อปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชน ปัจจุบันคือหลักสูตรประกาศนียบัตรสาธารณสุขศาสตร์ (เทคนิคเภสัชกรรม)

พ.ศ. 2537 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี ได้รับพระราชทานพระราชทินนามของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารีว่า “ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี "

พ.ศ. 2540 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี ผลิตบัณฑิตหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต ร่วมกับคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และได้ยกเลิกหลักสูตรในปี พ.ศ. 2556

พ.ศ. 2549 จัดตั้งภาควิชาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ เพื่อผลิตบุคลากรด้านการแพทย์แผนไทย ตามนโยบายกระทรวงสาธารณสุข และเปิดศูนย์สุขภาพแพทย์แผนไทย

พ.ศ. 2551 จัดตั้งภาควิชาเวชกิจฉุกเฉิน โดยส่งบุคลากรที่เกี่ยวข้องศึกษาดูงานด้านเวชกิจฉุกเฉินที่ประเทศสหรัฐอเมริกาเพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรโดยตรง และเพื่อผลิตบุคลากรด้านเวชกิจฉุกเฉิน ตามนโยบายกระทรวงสาธารณสุข

พ.ศ. 2552 เปิดรับนักศึกษาหลักสูตรการแพทย์แผนไทยประยุกต์ และเวชกิจฉุกเฉิน เป็นรุ่นแรก รับวิทยาลัยการแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศร์ เข้าเป็นวิทยาเขต และเปิดสอนหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต (ทันตสาธารณสุข) ร่วมกับมหาวิทยาลัยบูรพา

พ.ศ. 2554 เปิดหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต (สาธารณสุขชุมชน) ร่วมกับมหาวิทยาลัยบูรพา (สิ้นสุดการสมทบปี 2562)

สถานปฏิบัติการและวิทยาเขต

[แก้]
  • สำนักงานอำนวยการ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี

หลักสูตร

[แก้]

หลักสูตรที่วิทยาลัยเปิดดำเนินการสอน ได้แก่

  • หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต หลักสูตร 4 ปี 2 สาขาวิชา ได้แก่ "สาธารณสุขชุมชน (Community Public Health)" และ "ทันตสาธารณสุข (Dental Public Health)"
  • หลักสูตรการแพทย์แผนไทยบัณฑิต หลักสุตร 4 ปี สาขา "แพทย์แผนไทย ( Thai Tradditional Medicine)"
  • ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงสาธารณสุขศาสตร์ หลักสูตร 2 ปี เปิดดำเนินการสอนหลักสูตร "เทคนิคเภสัชกรรม (Pharmacy Technical)"
  • ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงเวชกิจฉุกเฉิน หลักสูตร 2 ปี เปิดดำเนินการสอนหลักสูตร "เวชกิจฉุกเฉิน (Emergency Medical Technician)"

กลุ่มงาน

[แก้]

วิทยาลัยมีโครงสร้างการบริหารงานหลักสูตรผ่านกลุ่มงานต่างๆ ดังนี้

  • กลุ่มงานอำนวยการ รับผิดชอบงานธุรการ สารบรรณ พัสดุ การเงิน อาคารสถานที่และยานพาหนะ
  • กลุ่มงานแผนงานและยุทธศาสตร์ รับผิดชอบงานแผนงาน ยุทธศาสตร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ ห้องสมุดและการประกันคุณภาพการศึกษา
  • กลุ่มงานวิจัยและบริการวิชาการ รับผิดชอบงานวิจัย การฝึกอบรม วิเทศสัมพันธ์และการบริการวิชาการ
  • กลุ่มงานกิจการนักศึกษา รับผิดชอบงานกิจการนักศึกษา กองทุนการศึกษาและกู้ยืม หอพักนักศึกษาและสวัสดิการนักศึกษา
  • กลุ่มงานวิชาการ รับผิดชอบงานหลักสูตรและการพัฒนา ทะเบียนวัดผล และภาควิชาต่าง ๆ ดังนี้

ภาควิชา

[แก้]
  • ภาควิชาสาธารณสุขศาสตร์ รับผิดชอบหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต (สาธารณสุขชุมชน)
  • ภาควิชาทันตาภิบาล รับผิดชอบหลักสูตรปริญญาตรี สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต (ทันตสาธารณสุข) และศูนย์บริการทันตกรรม
  • ภาควิชาเภสัชกรรม รับผิดชอบหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงสาธารณสุขศาสตร์ (เทคนิคเภสัชกรรม) และศูนย์เภสัชกรรมชุมชน
  • ภาควิชาการแพทย์แผนไทย รับผิดชอบร่วมผลิตหลักสูตรปริญญาตรี 1 หลักสูตร และศูนย์สุขภาพแผนไทย
  • ภาควิชาเวชกิจฉุกเฉิน รับผิดชอบหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงเวชกิจฉุกเฉิน

ภาควิชาสาธารณสุขศาสตร์

[แก้]

ภาควิชาสาธารณสุขศาสตร์ เป็นภาควิชาที่เปิดทำการสอนนักศึกษาในหลักสูตรปริญญาตรีหลักสูตรแรกของวิทยาลัยฯ เป็นสถาบันสมทบของมหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2540 – 2553 ต่อมาใน พ.ศ. 2553 ได้เล็งเห็นการจัดสรรทรัพยากรการศึกษาในท้องถิ่น ที่มุ่งเน้นการบริหารจัดการทรัพยากรร่วมกันและเกิดความยั่งยืนเพื่อประโยชน์สูงสุดของวิทยาลัยและผู้สนใจเข้าศึกษาจึงได้พัฒนาหลักสูตรใหม่ร่วมกับคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาในหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต (สาธารณสุขชุมชน) และเปิดรับนักศึกษาเป็นรุ่นแรกในปีการศึกษา 2554 ซึ่งเป็นผลผลิตบัณฑิตของภาควิชาในรุ่นที่ 15

บุคลากร

[แก้]
  • ทันตแพทย์
  • เภสัชกร
  • พยาบาลวิชาชีพ
  • แพทย์แผนไทย
  • วิทยาจารย์
  • นักปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์
  • สายสนับสนุน

ทรัพยากร

[แก้]
  • อาคารปฏิบัติการ จำนวน 6 อาคาร
  • อาคารสำนักงานสมาคมศิษย์เก่าและพิพิธภัณฑ์วิทยาลัยการสาธารณสุข จำนวน 1 อาคาร
  • หอพักนักศึกษา จำนวน 6 หอพัก
  • โรงพยาบาล จำนวน 1 โรงพยาบาล (ตามสัญญาข้อตกลงระหว่างหน่วยงาน)(รพช.เมืองชลบุรี)
  • ศูนย์บริการทันตกรรม จำนวน 1 ศูนย์
  • ศูนย์บริการแพทย์แผนไทย จำนวน 2 ศูนย์ (ในวิทยาลัยและวิทยาเขตสถานที่ละ 1 แห่ง)
  • บ้านพักข้าราชการและลูกจ้าง
  • แฟลตข้าราชการและลูกจ้าง
  • โรงอาหาร จำนวน 1 หลัง

อ้างอิง

[แก้]
  1. "วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-10. สืบค้นเมื่อ 2008-07-10.